ความแตกต่างระหว่าง Project กับ Product
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Application มันแบ่งได้หลายแบบ แต่ถ้าจะให้เกี่ยวเป็นเรื่องเดียวกันผมขอแบบตามที่มาของ Requirement
- Project ส่วนใหญ่จะมี requirement ที่ชัดเจน โจทย์มาจากลูกค้า หรือผู้ว่าจ้าง ผู้ใช้จะเป็นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะธุรกิจ ที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร หรือปรับปรุงบริการให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ระบบ บัญชี , ERP, CRM เป็นต้น
- Product เป็นสิ่งที่สร้างจากสมมติฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะอย่างเหมือนกัน แต่โดยมากมาจากการคาดเดาความต้องการ หรือจากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น พวก App บน Mobile ส่วนใหญ่ที่เปิดให้ download , พวก Software สำเร็จรูป อย่างพวก MS.Office โปแกรมแต่งรูป (ซึ่งบางครั้งมันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งหมดของคุณ ทำได้อย่างเดียวคือการ update version)
ผมจะไม่พูดเรื่องของ Project นะครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นระดับองค์กร และมีทีมงานขนาดใหญ่สำหรับพัฒนาระบบ กลุ่มเป้าหมายชัดเจนอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้
ถ้าคุณต้องการสร้าง Product หรือ Application เพื่อที่จะขาย โดยเฉพาะขายให้กับคนหมู่มาก ก็ต้องมามองกลุ่มผู้ใช้ให้ออกก่อนว่าเป็นใคร การใช้งานเป็นรูปแบบส่วนบุคคล กลุ่มคน องค์กร หรือกลุ่มสังคม ซึ่งแต่ละรูปแบบ ก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก บางคนคิดแค่ว่าอยากเขียน อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะมีใครมาใช้ด้วยรึเปล่า นั่งทำไป 2 เดือน โปรแกรมเสร็จ ไม่มีใครเอาไปใช้ (มองในแง่ดีคือได้ประสบการณ์ ... แต่ถ้าได้เงินด้วยมันจะไม่ดีกว่าเหรอ??)
บางอย่างเราพยายามยัดเยียดเทคโนโลยี ขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน สีสันที่ดึงดูด ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ เพราะมันไม่ได้ช่วยให้ปัญหาของพวกเค้าได้รับการแก้ไข
ปัญหาคืออะไร ทำยังไงถึงจะมีปัญหา
ถ้าใครที่เรียนสาย Com.Eng หรือ Com.Sci หรือสาขาอื่นๆ ที่ต้องทำ Senior Project ก็จะรับทราบข้อนี้เป็นอย่างดี บางคนคิดแค่ว่าตอนนี้เขียนอะไรได้ ทำอะไรเป็น แล้วค่อยคิดหัวข้อตามนั้น (ใช่แล้วครับ มันเหมือนกับการคิดหัวข้อโปรเจ็คจบนั่นแหละ) ถ้าสิ่งที่เราทำมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาใดๆกับชาวโลกเลย ก็เปล่าประโยชน์ที่จะทำ มาลองดูว่าปัญหาอะไรบ้างที่ควรได้รับความสนใจ (แค่ยกตัวอย่างให้ดูนะครับ)
- ปัญหาส่วนตัว เช่น บัญชีส่วนบุคคล, รายการที่ต้องทำ, บันทึกประจำวัน
- ปัญหาของกลุ่ม เช่น การสื่อสารภายใน, การกำหนดนัดหมาย, การประชุมย่อย
- ปัญหาองค์กร เช่น การจัดการบุคคล, สื่อสารองค์กร, ประชาสัมพันธ์, จัดการลูกค้า
- ปัญหาสังคม เรียกได้ว่าเป็นปัญหาของคนหมู่มากก็ได้ เช่นการสื่อสาร สิ่งแวดล้อม
ข้อมูลอยู่คนละที่-> นำมาขึ้น Internet -> สร้างระบบค้นหา (Google) -> ได้ผลการค้นหาแล้ว ข้อมูลก็ยังเยอะและไม่อยู่ใน 10 อันดับแรกที่เราต้องการ
อีกตัวอย่างหนึ่ง
อยากมีเพื่อนเยอะๆ -> social network -> มีเพื่อนเยอะละ -> อยากกันเพื่อนเป็นกลุ่มๆ
ส่งข้อความธรรมดาไม่สวย -> ระบบ Sticker, Emo -> มี Sticker เยอะเกิน หาไม่เจอ (ฮา)
วิธีการฝึก ให้พยายามมองทุกอย่างรอบตัวเรา ในแง่มุมของปัญหาที่เกิดขึ้น คิดวิธีแก้ปัญหาหลายๆวิธี เลือกวิธีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจ เช่น ไปกินข้าวร้านประจำ เอ๊ะทำไมสั่งตั้งนานยังไม่ได้ซักที??? ... รถติดจัง??? ... จะไปทันมั้ยเนี้ย??? ... หรืออาจจะมาจากความไม่สะดวกส่วนตัว เช่น อยากได้ผู้ช่วยเวลาคิดหัวข้อแล้วมันไปค้นแล้วสรุปโดยเทียบกับ profile หรือพฤติกรรมของเรา พร้อมกับดึงข้อมูลทุ้งหมดมาแบ่งเป็นหมวดหมู่มาให้เลย??? มองทุกอย่างให้ลึกถึงปัญหาแล้วหาวิธีแก้อย่างสร้างสรรค์
สนใจชาวโลกบ้างก็ดี เค้าเดือดร้อนอะไรกัน เงินมันมาทีหลัง
บางครั้งปัญหาที่เราพบก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสารธาณะ (ของชาวโลก) ก็เป็นได้ และถ้าคุณมีวิธีแก้ไขที่ดีพอ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก ถึงเวลาอาจจะกลายเป็นมหาเศรษฐี ชั่วข้ามปี ก็เป็นได้ ตัวอย่าง
- อยากพูดคุยและแชร์ความรู้สึกกับเพื่อน -> Facebook
- อยาก chat มันส์ ๆ หรือส่งข้อความโดยไม่ต้องเสียตังค์ -> LINE
- อยากเก็บข้อมูลแล้วเข้าถึงจากที่ไหนก็ได้ -> Dropbox
- อยากค้นข้อมูลของทั้งโลก -> Google
- อยากเพิ่มช่องทางขายหนังสือ -> Amazon
- อยากแชร์วิดีโอให้ครอบครัวกับเพื่อนๆดู -> Youtube
ที่ว่าดี นะดีจริงเหร้อออ
ข้อเสียของ นักพัฒนาส่วนใหญ๋คือการเชื่อมันในตัวเองสูงเกิ้นนน คิดว่าที่ตัวเองคิดนี่ ที่สุดของที่สุดแล้ว จึงละเลยการไปศึกษาของชาวบ้านเค้า ว่าเค้าทำกันไปแล้วรึยัง เค้าแก้ปัญหายังไง กลุ่มผู้ใช้เป็นใคร ถ้าเหมือนกับของเรา เราจะทำให้ดีกว่าเค้าได้ยังไง ซึ่งบางครั้งการพูดคุยกับผู้รู้ กับเพื่อนๆ หรือคนที่อยู่ทั้งในวงการ และนอกวงการ ก็จำเป็น รวมถึงบางครั้งอาจจะต้องมองถึงแหล่งทุน วิธีการสร้างรายได้จากสิ่งที่คุณคิดและทำมันขึ้นมา
ผมจะไม่บอกว่าช่วงนี้ควรทำ App อะไรดี เพราะแต่ละช่วงจังหวะมันไม่เหมือนกัน ที่สำคัญคือการมองล่วงหน้าไปยังอนาคต เกาะกุมช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่สำคัญคือคิดและวิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะทำ เพราะทุกวินาทีของคุณมีค่า ถ้าเลือกได้ทำของที่มันมีประโยชน์กับชาวโลกเค้าจะดีกว่านะ ^_^
Aj.Bee
อาจารย์โผมมมมมมมมมมม ^^)b
ตอบลบ